วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติสกลนคร


ประวัติสกลนคร

ดินแดนอารยะธรรมแห่งอีสาน           
อีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นับว่าเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรือง มาก่อนยุคประวัติศาสตร์มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ 2แห่งด้วยกัน คือ แอ่งสกลนคร และแอ่งโคราชด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำสำคัญหลายสาย ที่ไหลลงสู่หนองหารหลวงและแม่น้ำโขง เป็นปัจจัยที่เหมาะสมในการก่อเกิดสังคมเกษตรอันเป็นสังคมเริ่มแรก ความสมบูรณ์สุขของสังคมเดิมประกอบกับการย้ายถิ่น ของผู้คนจากสังคมอื่นเข้ามายังแอ่งสกลนคร เพื่อเสาะแสวงหาทรัพยากรอันมีค่า ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและนำความมั่งคั่งมาสู่ชุมชน และสังคมของตน มีการถ่ายเทวัฒนธรรมประเพณี จนทำให้เกิดวิวัฒนาการทางอารยธรรมผ่านยุคสมัยต่าง ๆ มากมาย นับตั้งแต่ ยุคสำริดเหล็ก สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยลานช้าง จนเข้าสู่การปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทำให้สกลนครมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ มากมายที่บ่งบอกถึงอารยธรรมในแต่ละสมัยนอกจากวัตถุทางวัฒนธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นการกระทำร่วมกัน ก็ปรากฏหลากหลายด้วยเป็นที่รวมชนหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาอยู่ในสกลนคร โดยมีความเชื่อถือ และพิธีกรรมที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ ด้วยความยึดมั่นต่อพุทธศาสนา ที่มีองค์พระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์รวมของความศรัทธานี้ วัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่ของชาวสกลนคร จึงเป็นไปเพื่อบูชาพระพุทธคุณ ปัจจุบัน จังหวัดสกลนครมีธรรมชาติที่งดงามของอุทยานแห่งชาติภูพาน โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่เป็นร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ของพระเถราจารย์สายอรัญวาสี อันเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป เป็นสถานที่น่าท่องเที่ยวชมของชาวสกลนครและผู้มาเยือน ความมั่งคั่งแห่งอารยธรรมที่สั่งสมมาแต่โบราณกาล นับว่าเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของสังคม ที่ยึดมั่นในประเพณีที่ดีงาม และอยู่อาศัยร่วมกันอย่างสงบสุขของชาวสกลนคร

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีจังหวัดสกลนคร

เมืองสกลนคร เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ดังปรากฏชื่อเมืองที่เปลี่ยนแปลงถึง 3ครั้งด้วยกัน คือ เมืองหนองหารหลวง เมืองสกลทวาปี และเมืองสกลนคร จึงมาเป็นจังหวัดสกลนครในยุคปัจจุบัน เมื่อพิจารณาจากหลักฐานโบราณคดี และประวัติศาสตร์ กล่าวได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินมิได้ขาดสาย นับตั้งแต่ยุควัฒนธรรมบ้านเชียง สมัยสำริดเหล็ก สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยล้านช้าง และสมัยรัตนโกสินทร์ การปรับตัวของกลุ่มชนต่าง ๆ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดวัฒนธรรม สวมทั้งประเพณีความเชื่อมากมาย สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งในบริเวณนี้ยังมีที่สามารถหลบซ่อนได้อย่างปลอดภัย ตามเทือกเขาภูพานที่ทอดแนวยาวจากจังหวัดมุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ และอุดรธานี จึงก่อให้เกิดชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพาน ดังหลักฐานทางโบราณคดี แสดงถึงการมีชุมชน เกิดขึ้นมานานนับพันปีแล้ว และต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เทือกเขาภูพานมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นแหล่งต้นน้ำหลายสาย ดังนี้ ลำน้ำอูน มีต้นน้ำจากหุบเขาในเทือกเขาภูพาน อำเภอกุดบาก อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอวาริชภูม ไหลออกทางอำเภอพรรณานิคม ไปยังเขตอำเภอนาหว้า ออกไปบรรจบกับแม่น้ำสงคราม ที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ลำน้ำอูนเป็นแหล่งชุมชนที่สำคัญ ทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และยุคล้านช้างในพุทธศตวรรษที่ 21-23 ลำน้ำพุง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูพาน จากทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ที่อำเภอภูพาน และ บริเวณหุบเขาต้นลำน้ำพุง ที่บ้านนาผาง ตำบลกกปลาซิว เป็นแหล่งชุมชนสำคัญก่อนประวัติศาสตร์ และยุคเหล็ก ลำน้ำก่ำ มีต้นกำเนิดจากนองหาร ซึ่งรองรับน้ำจากเทือกเขาภูพาน และลำน้ำสาขาในลุ่มน้ำพุง เป็นแหล่งชุมชนโบราณที่สำคัญ ในสมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-18

สกลนครยุคก่อนประวัติศาสตร์  
ลักฐานทางโบราณคดียุคหินใหม่ เข้าสู่ยุคสำริด-เหล็ก ในแอ่งสกลนคร นักโบราณคดีได้ขุดค้นระหว่าง พ.ศ. 2523-2524 ที่บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และขุดค้นในปี พ.ศ.2540 ที่บ้านดอนธงชัย ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โครงกระดูกของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ มีอายุระหว่าง 3,200-1,000 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็นชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบเครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบ เนื้อเรียบ ลายขูดขีด ลายเชือกทาบ หรือลายเขียนสี และยังพบเครื่องมือที่ใช้เปลี่ยนมาจากหินมาใช้เครื่องมือโลหะผสมแบบสำริด ความเจริญของวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้น เกิดขึ้นกับชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งมีเครือข่ายสัมพันธ์กันหลายแห่งในดินแดนภาคอีสาน ในเขตยูนานตอนใต้ และเวียดนาม จึงได้มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องโลหะวิทยา และผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้สำริด-เหล็กร่วมสมัยกัน แต่บ้านเชียงเป็นชุมชนเล็ก ไม่สามารถพัฒนาให้เป็นอุสาหกรรมได้ จึงผลิตใช้ในชุมชนเท่านั้น ในเวลาต่อมาอีกประมาณ 500 ปี คือ ราว 2,500 ปี ก่อนพุทธศักราช ศูนย์กลางการผลิตเหล็ก และเกลือ อยู่ที่แอ่งโคราช และลุ่มแม่น้ำสงครามแถบสกลนคร ทำให้มีการเคลื่อนย้ายของชุมชนบ้านเชียง ซึ่งส่วนหนึ่งกระจายสู่พื้นที่รอบๆ หนองหารหลวง สกลนคร และมีหลักฐานเครื่องปั้นดินเผารูปแบบวัฒนธรรมบ้านเชียงตอนปลายปรากฏอยู่ทั่วไป

ยุคเหล็กในสกลนคร 
จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์และโบราณคดี อุตสาหกรรมเหล็กนั้นเกิดขึ้นในราว 2,400 ปี ส่วนการผลิตเกลือเกิดขึ้นเมื่อ 2,000 ปี ก่อนพุทธศักราช ในช่วงเวลา 3,200-2,500 ปี ก่อนพุทธศักราช ผู้คนได้อพยพลงมาจากประเทศจีนตอนใต้ และเวียดนาม ซึ่งมีความรู้ด้านโลหะวิทยาเข้าสู่ภาคอีสาน และสกลนคร รวมทั้งการโยกย้ายของชุมชนกันภายในพื้นที่ เพื่อแสวงหาทรัพยากร ในการดำรงชีพ จึงเกิดการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมเหล็กเจริญรุ่งเรืองกว่าสำริด ซึ่งพบหลักฐานตามลุ่มแม่น้ำสงครามตอนบน ที่บ้านใหม่พัฒนา ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน และในเขตบ้านหนองสะไน  ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และแหล่งที่สำคัญบนที่ดอนสูง บ้านพาน ตำบลขมิ้น อำเภอเมืองสกลนคร ใกล้กับถนนสาย อุดร-สกลนคร ตัดผ่าน พบทั้งเครื่องมือเครื่องใช้เหล็ก โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับสำริด และเครื่องปั้นดินเผาอารยธรรมบ้านเชียงถือได้ว่าเป็นยุคเหล็กตอนปลาย การที่ผู้คนมาอาศัยรวมกัน มาก ๆ ทำให้เกิดการปรับตัวในการอยู่อาศัย  โดยมีโครงสร้างคูและคันดินล้อมรอบ เป็นทั้งการป้องกันการบุกรุกจากศัตรู และเป็นที่เก็บน้ำไว้ดื่มไว้ใช้อีกด้วย  ในยุคเหล็กนี้ นอกจากการอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำแล้ว ยังมีบางชุมชนขึ้นไปอาศัยอยู่ตามเทือกเขาภูพาน เกิดศิลปะถ้ำที่มีทั้งการขีดเขียน การจารเซาะร่องลงในแผ่นหินทราย และภาพเขียนสีตามเพิงผา เช่นที่ถ้ำผาลายภูผายนต์ ถ้ำพระด่านแร้ง ถ้ำม่วงภูถ่อ และถ้ำผักหวาน
การผลิตเกลือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
ทรัพยากรอีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจผู้คนให้เข้ามาอยู่ในแถบสกลนคร และเขตใกล้เคียง คือ เกลือ จากการสำรวจของนักโบราณคดี ในปี พ.ศ.2538-2539พบว่าในบริเวณระหว่างพื้นที่ในเขตลำน้ำยามไหลลงลำน้ำสงคราม และน้ำอูน ในเขต อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และในเขตอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร มีโพนเกลือที่เป็นแหล่งร่องรอยของการทำเกลือเก่า 9แห่ง คือ สำนักสงฆ์โพนช้างขาวสันติธรรม โพนแต้ โพนกอง โพนตุ่น โนนจุลมณี วัดโพธิ์เครือ และสำนักสงฆ์ร้าง โนนหัวเข้สันติธรรม ในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จากหลักฐานเครื่องปั้นดินเผาที่พบ อนุมานได้ว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีการผลิตเกลือและส่งออกไปจำหน่ายยังอาณาจักรเจนละบก เช่นเดียวกับแอ่งโคราชที่ผลิตเกลือขายเรื่อยมา จนถึงสมัยทวารวดี และสมัยลพบุรี

สกลนครสมัยทวารวดี 
ทวารวดี เป็นอิทธิพลวัฒนธรรมจากประเทศอินเดีย ทีผสมผสานกับวัฒนธรรมกลุ่มชนดั้งเดิม ที่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยแล้ว จากหลักฐานทางโบราณคดียืนยันได้ว่า ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 บ้านเมืองในอีสานได้เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยได้รับอารยธรรม ทางด้านศาสนา การปกครอง ตลอดจนประเพณีบางอยางจากอินเดีย ในด้านประวัติศาสตร์ตามความเห็นจากหลักฐานที่ขุดพบแบ่งทวารวดีเป็น 3 แบบ คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 ศิลปะทวารวดีได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะ แบบที่ 2ราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ศิลปะทวารวดีคติหินยาน และราวพุทธศตวรรษที่ 15-18ศิลปะทวารวดีที่ได้รับอิทธิพล จากเขมรโบราณแบบบาปวน หลักฐานทางโบราณคดี สมัยทวารวดีในสกลนคร มีพระพุทธไสยาสน์ศิลปะทวารวดีแกะสลักที่หน้าผาหินทราย และพระพุทธรูปดินดิบในบริเวณวัดเชิงดอยเทพรัตน์ และในเขตรอบ ๆ หนองหารพบพระพุทธรูปทวารวดีปางสมาธิมารวิชัย ที่วัดกลางศรีเชียงใหม่ และเสมาหินทั้ง 8ทิศ ปักที่เนินดินเขตพิธีกรรม นักโบราณคดีผู้ศึกษาเรื่องเสมาหินมีความเห็นว่า เสมาสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำหน้าที่ 3ประการ คือ เป็นการกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีกรรม สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และทำหน้าที่แทนพระสถูปเจดีย์
สกลนครสมัยลพบุรี ดินแดนภาคอีสานมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอมมาก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ทำให้รับอิทธิพลของขอมทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศาสนา โดยเฉพาะพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองลพบุรีเป็นศูนย์กลางอำนาจที่สำคัญ  มีผลทำให้ภาคอีสานมีรูปแบบ ศิลปะขอม ตามอย่างในลพบุรี จึงเรียกศิลปะที่เกิดมนยุคสมัยนั้นว่า ศิลปะลพบุรี ในการขยายอิทธิพลของขอมในพุทธศตวรรษที่ 16 ได้ขยายเป็นวงกว้างในภาคอีสาน และขอมได้นำวิทยาการในการชลประทาน เช่น ขุดอ่างเก็บน้ำเพื่อรับน้ำจากที่สูงเก็บไว้ใช้ และปล่อยลงมาหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร และสร้างโรงพยาบาลที่เรียกว่า อโรคยศาล อยู่ตามริมทางเป็นระยะ ในรูปแบบปราสาท หรือ กู่ เพื่อรักษาให้กับผู้ที่เดินทางผ่านไปผ่านมาเมือเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาในระหว่างเดินทาง และอิทธิพลของขอมได้เจริญสูงสุดในอีสาน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย  พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมืองหนองหารหลวงในแอ่งสกลนคร ได้รับอิทธิพลจากขอมอย่างเต็มที่ โดยมีหลักฐานทางโบราณคดี และจารึกอักษรขอมหลายแห่ง อีกทั้งสภาพคูเมือง รูปสี่เหลียมผืนผ้า 2ชั้น และโบราณสถานอีกหลายแห่ง เช่น ปราสาท พระธาตุ และหลักศิลาจารึกที่แสดงว่า ขอมเข้ามามีอิทธิพลอยางมากในสมัยนั้น ซึ่งมีสถานที่สำคัญดังนี้ ภูถ้ำพระ บนเถือกเขาภูพาน ประสาทพระธาตุภูเพ็ก บ้านนาหัวบ่อ พระธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร พระธาตุดุม อำเภอเมืองสกลนคร ประสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง อำเภอเมืองสกลนคร ปราสาทบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน  วัดแดนโมกษาวดี   บ้านพานพัฒนา และวัดพุทธไสยาสน์ บ้านค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ
สกลนครสมัยล้านช้าง
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7อิทธิพลของขอมก็ค่อย ๆ เสื่อมลง อาณาจักรล้านช้างเริ่มเข้มแข็งในลุ่มแม่น้ำโขง ได้ขยายออกจากทางการเมือง และเผยแพร่พระพุทธศาสนาเถรวาทแทนที่อิทธิพลศาสนาฮินดู และพุทธศาสนามหายาน เมื่อเจ้าฟ้ากุ้งมีอำนาจ ในอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ.1893-1916) พระองค์แผ่อำนาจรวบรวมหัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฝั่ง ถึงดงพญาเย็นและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ตามพงศาวดารลาวได้ระบุถึงการตีเมืองต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเมืองหนองหารหลวงรวมอยู่ในนั้นด้วย ในสมัยต่อมา กษัตริย์แห่งล้านช้างอีก 3พระองค์ ได้แผ่อำนาจบารมีทางพระพุทธศาสนาเข้ามาทางภาคอีสาน พระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ.2063-2093)ได้ทรงสร้างวัดในเขตหนองหาร ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกบ้านโพนงามบก ในสมัยพระเจ้าชัยเชษฐาธิราช (พ.ศ.2093-2114)ได้มีการเปลี่ยนราชธานีจากหลวงพระบางมาเป็นเมืองเวียงจันทน์ พระองค์เสด็จมาบูรณะพระธาตุพระนม และยังเชื่อว่าได้มาบูรณะพระธาตุเชิงชุมด้วย เป็นการบูรณะแบบผสมผสานรูปแบบ สถาปัตยกรรมอยุธยากับล้านช้างได้อย่างลงตัว ในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช (พ.ศ.2180-2237) ได้ส่งพระราชวงศ์ มาปกครองเมืองนครพนม และในขณะเดียวกันได้ส่งพระสมณะฑูตเข้ามาสร้างวัดในเขตเมืองหนองหาร ดังปรากฏในศิลาจารึก วัดกลางศรีเชียงใหม่ บ้านท่าวัด ริมหนองหาร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในราชสำนักเวียงจันทน์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช (พ.ศ.2180-2237)ทำให้คนหลายกลุ่มไม่พอใจ กลุ่มพระวอ พระตา เป็นเสนาบดีในเมืองเวียงจันทน์เกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าสิริบุญสาร จึงนำไพร่พลญาติพี่น้องหนีเข้ามาอยู่ฝั่งขาว ที่บ้านหินโงม ในจำนวนผู้ที่พากันมานี้ หลวงราชโภชไนยได้มาตั้งบ้านอยู่ที่บ้านปะขาวพันนา ซึ่งอยู่ในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนครในปัจจุบันกลุ่มเจ้าผ้าขวา-โสมพะนิต เจ้าผ้าขาวเป็นข้าราชการในราชสำนักกรุงเวียงจันทน์ ได้ผิดใจกับโอรสเจ้าสิริบุญสารที่ผิดประเพณี หลานสาวเจ้าผ้าขาว จึงได้พาไพร่พลอพยพมาอยู่ที่บ้านพรรณนา อำเภอพรรณานิคมในปัจจุบัน จนหลานสาวคลอดได้บุตรชาย ได้ชื่อว่าเจ้าโสมพะนิต ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ที่ไพรพลต่อจากเจ้าผ้าขาว ไพร่พลของเจ้าโสมพะนิตบางส่วนได้แยกย้ายไปอยู่บ้านธาตุเชิงชุม เพื่อปรนนิบัติพระธาตุ จึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่อยู่กับพระธาตุเชิงชุมมาช้านาน ส่วนเจ้าโสมพะนิตได้หลบหนีการติดตาม ของทหารเจ้าสิริบุญสาร ไปตั้งหลักมั่นที่บ้านดงสมเปือยติดกับลำน้ำปาว เรียกว่า แก่งส้มโฮงตั้งเป็น เมืองกาฬสินธุ์ และขอความคุ้มครองจากราชสำนักกรุงเทพ ฯ
การขยายอิทธิพลของกรุงเทพ ฯ เข้าสู่อีสาน และสกลนคร 
ในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงขยายอำนาจออกไปให้กว้างไพศาล ครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือ จนถึงลุ่มน้ำโขงตอนเหนือ พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบเวียงจันทน์ เมื่อนครเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอ  พระตา ในราชอาณาเขต เจ้าพระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ได้ตีเวียงจันทน์แตก ใน พ.ศ.231 ท้าวหมาแพงบุตร เจ้าอุปชา  ได้ว่าราชการแทนเจ้าเมือง แต่ถูกจับและข่มขู่ให้อ่อนน้อมต่อเวียงจันทน์ เจ้าโสมพะนิตที่เมืองกาฬสินธุ์ได้รายงานไปยังกรุงเทพให้ช่วยเหลือ ท้าวหมาแพงได้รับการปล่อยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและทรงแต่งตั้งให้ท้าวแพงหมาเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ทำให้บุตรเจ้าโสมพะนิตไม่พอใจ คบคิดกับพระยาบ้าเว่อพาไพร่พลออกจากกาฬสินธุ์ กลับมาตั้งบ้านเรือนที่หน้าวัดพระธาตุเชิงชุม ในเวลาต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาบ้านเว่อเป็นเจ้าเมืองสกลทวาปี เมืองสกลทวาปี มีศูนย์กลางอยู่ที่บ้านธาตุเชิงชุม ในปี พ.ศ.2369เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏต่อราชสำนักกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้กรมพระราชวังบวร ฯ เป็นแม่ทัพหน้ายกไปตีเวียงจันทน์สำเร็จ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2370พระเจ้าอนุวงค์หนีไปอาศัยเมืองมหาชัยกองแก้ว และเมืองแง่อานของญวนกองทัพไทยได้กวาดต้อน ผู้คนมาเป็นจำนวนมมากเมื่อกองทัพเดินทางกลับกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณาว่าไม่ควรปล่อยให้เมืองเวียงจันทน์เข้มแข็ง อาจให้การสนับสนุนกำลังคน แก่ญวนซึ่งกำลังทำสงครามแย่งชิงเขมร และอาจแข็งข้อกับราชสำนักกรุงเทพ ฯ อีก จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี ยกกองทัพหลวงไปปราบปราม เมื่อ พ.ศ.2371  ไปรวบรวมไพร่พลที่หัวเมืองยกไปโจมตีเวียงจันทน์ แต่ปรากฏว่า กองทัพไทย ถูกกลลวงข้าศึกพ่ายแพ้หลบหนีเสียไพร่พลจำนวนมาก พระยาราชสุภาวดีรวบรวมไพร่พลขึ้นใหม่ที่ยโสธร โดยใช้เวลา 2 เดือน ยกไปตีเวียงจันทน์อีกครั้ง  จนกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายย่อยยับ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2371 เมื่อยกทัพกลับกรุงเทพ ฯ พระยาราชสุภาวดีได้รับพระราชทานยศเป็นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ในศึกพระเจ้าอนุวงศ์ครั้งนี้ เมืองสกลทวาปีมิได้ขัดขวางกองทัพจากเวียงจันทน์ที่เข้าตีเมืองกาฬสินธุ์ และยังให้แวะพัก ที่เมืองสกลทวาปี แต่พอพระธานีเจ้าเมืองทราบว่า กรมพระราชวังบวร ฯ ยกกองทัพตีเมืองเวียงจันทน์แตกแล้ว จึงยกทัพไปสวามิภักดิ์ที่บ้านพานพร้าว ในเวลานั้นกองทัพพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพฝ่าตะวันออก ตีเมือง ยโสธร อุบล และจำปาศักดิ์ แล้วเลยไปถึงมุกดาหาร และไปจัดทัพที่เมืองนครพนม พระธานีไม่ได้เตรียมกำลังไพร่พลและกระสุนดินดำ ตลอดจนเสบียงอาหาร ให้กองทัพ จึงมีความผิดฐานกบฏ ถูกประหารชีวิติที่บ้านหนองทรายขาว แล้วกวาดต้อนผู้คนไปไว้ที่เมืองกบิลประจันตคาม  เมืองสกลทวาปี
จึงร้างชั่วคราว เหลือเพียงผู้คนที่พอจะรักษาพระธาตุเชิงชุม
ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
ในปี พ.ศ.2376-2388ไทยและญวนได้เริ่มทำการแผ่อิทธิพลเหนือแผ่นดินเขมร และเพื่อเป็นการตัดกำลังญวน  ไทยจึงเริ่มทำสงคราม เพื่อการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองต่าง ๆ จากฝั่งซ้ายให้ไกลออกไปจนสุดแดนญวน หรือเกลี้ยกล่อมให้  เจ้าเมือง ยอมรับถวายสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ ใน พ.ศ.2385 ราชวงศ์อิน ชาวเมืองมหาชัยกองแก้ว น้องชายพระยาประเทศธานี (ดำ) เจ้าเมืองสกลนครคนแรก ที่อพยพมาสวามิภักดิ์ต่อไทยให้กลับไปเกลี้ยกล่อม ราชวงศ์อินเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับชนเผ่าต่าง ๆ ทางฝั่งซ้าย เป็นอย่างดี เมื่อไปพูดชี้แจง จึงมีการอพยพผู้คนจากเมืองต่างๆ มาสู่สกลนครเป็นอันมากกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นชนเผ่าที่แตกต่างกันออกไป มีภาษาพูดเป็นของตนเอง เช่น -กลุ่มคนผู้ไทยเมืองพรรณานิคม อพยพมาจากเมืองวัง 
             - กลุ่มผู้ไทยเมืองวาริชภูมิ  และกลุ่มผู้ไทยเมืองจำปา  ชนบท  อพยพมาจากเมืองกะปอง   เขตเมืองเซโปน
                 - กลุ่มกะโซ่ เมืองกุสุมาลย์ เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองมกาชัยกองแก้ว
                 - กลุ่มโย้ย เมืองอากาศอำนวย อพยพมาจากเมืองหอมท้าว
                 - กลุ่มโย้ย เมืองวานรนิวาส
                 - กลุ่มโย้ย เมืองสว่างแดนดิน อพยพมาจากเมืองภูวา ใกล้เมืองมกาชัยกองแก้ว
                 - กลุ่มญ้อ อพยพมาจากเมืองคำเกิดคำม่วน
นอกจากนี้ยังมีพวกกะเลิงจากเมืองภูวา แต่กระจายปะปนกับกลุ่มอื่น ไม่ได้ตั้งเมืองอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนแต่ประการใด


ลักษณะการปกครอง
กลุ่มอุปฮาด ราชวงศ์ ที่เข้าสวามิภักดิ์ ซึ่งภายหลังได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสกลนคร ในปี พ.ศ.2381   เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญและมีบทบาททางการเมือง ต่างก็มีความรู้ความสามารถ ในแบบแผนขนบธรรมเนียมการปกครองแบบลาวตะวันออก ทางกรุงเทพฯ จึงไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ปล่อยให้ปกครองกันเองตามแบบธรรมเนียมเดิม รวมทั้งการตัดสินคดีความด้วย

การปกครองแบบลาวแบ่งออกเป็นอาญา 4 ตำแหน่ง คือ                   - เจ้าเมือง มีอำนาจสิทธิขาดในการสั่งราชการบ้านเมืองทั้งปวง ตลอดจนต้อนรับผู้ที่มาจากเมืองอื่น และสรรพสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นในเมืองนั้น
                    - อุปฮาด หรืออุปราช เป็นผู้ที่ทำงานแทนเจ้าเมืองเมื่อป่วยหรือมีกิจธุระ ถ้าเจ้าเมืองถึงแก่กรรม หรือมีเหตุต้องโทษทัณฑ์ หรือชรา ขณะที่ทางกรุงเทพฯ ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าเมือง ให้อุปฮาดปฏิบัติงานแทน
                     - ราชวงศ์ ทำหน้าที่พิจารณาอรรถคดีความร่วมกันตัดสินกับเจ้าเมือง ปฏิบัติตามคำสั่งของงอุปฮาด
ในกรณีที่อุปฮาด รักษาการแทนเจ้าเมือง และราชวงศ์รักษาการแทน
 อุปฮาด                                                                                                                          
                     - ราชบุตร หมายถึงบุตรเจ้าเมือง แต่ถ้าผู้ใดที่มีความดีความชอบในราชการมาก เจ้าเมืองอาจเสนอชื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั่งให้เป็นราชบุตร ราชวงศ์ได้ การสักเลก และเก็บส่วย เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ทางกรุงเทพฯ ที่เป็นส่วนกลางต้องสักเลกจำนวนชายฉกรรจ์ของแต่ละเมือง เพื่อให้ทราบว่าในแต่ละหัวเมืองมีกำลังไพร่พลเท่าไร ที่จะเป็นกำลังที่สำคัญในการป้องกันประเทศ และทางด้านเศรษฐกิจ วีธีการคือสักหมึกลงที่ท้องแขนขวาเป็นตัวอักษรที่บอกชื่อเมือง ชื่อมูลนายเป็นต้นสังกัด เมื่อส่วนกลางรู้จำนวนกำลังพลของแต่ละเมืองแล้ว จะกำหนดการเก็บส่วย หรือภาษี ให้มีสัดส่วนสัมพันธ์กันกับจำนวนไพร่พล โดยเก็บจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ทองคำ เงิน ขี้ผึ้ง ผลเร่ว ป่าน และน้ำรัก เป็นต้น ในสกลนครมีบันทึกว่า พ.ศ.2402 ได้ส่งควายไปแทนผลเร่ว 150 ตัว
 การปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชสำนักได้จัดส่งข้าราชการระดับสูงเข้าบริหารหัวเมืองอีสาน พ.ศ.2435ทรงจัดรูปแบบการปกครองใหม่โดยเอาเมืองเอก โท ตรี จัตวา จัดเป็นกลุ่มรวมกันเป็น 4กองใหญ่ โปรดให้ข้าหลวงกำกับ 1คน และได้มีการจัดการปกครองใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องชายเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสด็จฯมาเป็นข้าหลวงมณฑลฝ่ายเหนือ ในปีพ.ศ.2434   ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่หนองคาย และเมืองอุดร ในปี พ.ศ.2437ได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เรียกกลุ่มเมืองเป็นมณฑลสกลนครอยู่ในมณฑลลาวพวน ภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุด ของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มีกองบัญชาการที่อุดรธานี ใน พ.ศ.2437(ร.ศ.112)สกลนครได้จัดรูปแบบการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือแบ่งเป็น กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา และกำหนดให้มีเมืองแสนเมืองจัน มาเป็นมหาดไทยเมือง รับคำสั่งเจ้าเมืองทางฝ่ายธุรการ โต้ตอบไปมาในการบังคับบัญชาหัวเมือง ซึ่งขึ้นอยู่กับการปกครองของหัวเมืองสกล อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ผู้ช่วย รวมเป็นกองยุติธรรมคอยชำระความอุทธรณ์ที่ราษฎรกล่าว หากรมต่างๆ เจ้าเมืองคอยชำระความอุทธรณ์ที่ราษฎรกล่าวโทษยุติธรรม ข้าหลวงเป็นผู้แนะนำข้าราชการทั่วไปทุกกรมกอง

การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญ 
ในปี พ.ศ.2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลง คือ ให้งานราชการตลอดจน การบังคับบัญชาในหน้าที่เจ้าเมืองสกลรวมทั้งแขวง ตกเป็นหน้าที่ของข้าหลวงบริเวณทั้งหมด ส่วนเมืองบริวารของเมืองสกลตั้งเป็นอำเภอ ให้เจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ อุปฮาดเป็นปลัดอำเภอ ราชวงศ์เป็นสมุหอำเภอ ราชบุตรเป็นเสมียนอำเภอ สำหรับพระยาประจันตประเทศธานีเจ้าเมือง ให้เป็นที่ปรึกษาราชการของข้าหลวงเมืองบริเวณ หลังจากนั้นมา สกลนครได้มีข้าหลวงมาจากส่วนกลางเข้ามาบริหารราชการหลายคนจนถึง พ.ศ.2459ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงได้เปลี่ยนนามเมืองเป็นจังหวัดทั่วราชอาณาเขตสยาม  เมืองสกลนครตั้งขึ้นเป็น จังหวัดสกลนคร  ตั้งแต่นั้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น