วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานนางเงือก มหัศจรรย์สาวงามใต้สมุทร

ตำนานนางเงือก มหัศจรรย์สาวงามใต้สมุทร

เงือก หรือ นางเงือก (Mermaid) เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มี ส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา

     
นางเงือก (mermaid) เป็นสัตว์โลกอยู่ในทะเลในจินตนาการ  มีลำตัวท่อนบนเป็นผู้หญิงสวย ท่อนล่างเป็นปลา ภาษาเยอรมันเรียกนางเงือกว่า meerfrau และเดนมาร์กคือmaremind 

       
โจนส์ระบุว่า นางเงือกคือเทพธิดาแห่งทะเล มักปรากฏตัวขึ้นเหนือผิวน้ำ มือหนึ่งถือหวีสางผม มือหนึ่งถือกระจก มีลักษณะคล้าย ไซเรน (siren - ปีศาจทะเล ครึ่งมนุษย์ผู้หญิง ครึ่งนก มีเสียงไพเราะมาก ล่อลวงคนไปสู่ความตาย ในนิทานปรัมปราของกรีก)ใน หลายประเทศทั่วโลกมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย 
แต่เดิมนางเงือกอาจจะเป็นธิดาของพวกเคลต์ (ชาวไอริชโบราณ) นอกจากนี้ตำนานเกี่ยวกับนางเงือกมาจากเรื่องเล่าของพวกกะลาสีด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหายนะของมนุษย์ (Jobes 1961: 1093) แต่โรสกล่าวว่า บางครั้งนางเงือกก็ให้คุณต่อมนุษย์ มนุษย์ ที่ช่วยเหลือนางเงือกมักได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรคซึ่งเยียวยาไม่ ได้แล้ว ได้ของกำนัล หรือนางเงือกช่วยเตือนให้ระวังพายุ (Rose 1998: 218) 

    
บางครั้งนางเงือกก็ได้รับสมญานามว่าพรหมจารีแห่งทะเล มีลักษณะสวยงาม กระจกของนางเงือกคือสิ่งที่แทนวงพระจันทร์ และผมที่สยายยาวคือสาหร่ายทะเล หรือรังสีบนผิวน้ำ (Jobes 1961: 1093) แต่บางครั้งก็กล่าวว่ากะลาสีเรือเดินทางไปในเรือนานๆเข้า ไม่ได้เห็นผู้หญิงเลยก็เกิดภาพหลอนขึ้นมา นั่นคือนางเงือกไร้ตัวตนอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเดินทางทางเรือเกิดจินตนาการเพราะว้าเหว่คิดถึงครอบครัว 
ตามตำนานเกี่ยวกับเงือกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพโอนเนสเทพเจ้าแห่งท้องน้ำเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและสติปัญญามีบุตรสาว และบุตรชาย ที่มีรูปร่างคล้ายปลา ให้ดูแลท้องน้ำในมหาสมุทรและปกครองทะเลทั้งหมด เรื่องหนึ่งที่น่าประหลาดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1608 มีคนพบคนครึ่งปลากลุ่มใหญ่ออกมาปิดปากถ้ำที่เซ็นไอเว่ส์แถบชายฝั่ง เบ็นโอเวอร์เนื่องจากเรือหลายลำได้รับคำสั่งให้ไปจับคนนอกศาสนาหรือเหล่าเพ แกนมาทำโทษและจัดการฆ่าทิ้งศพลงทะเล เหตุการณ์นี้ยังเป็นที่งุนงงมาถึงปัจจุบันว่าจริงหรือไม่ 

    
เงือกเป็นเผ่าพันธุ์ของอมนุษย์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอีกชนิด หนึ่ง ว่ากันว่าเงือกพวกนี้อาจมีถิ่นกำเนิดบนฝั่ง บริตานี และว่ายข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังคอร์วอลล์ จึงทำให้ผู้คนที่นั่นขนานนามว่า เมอร์เมด-เมอร์ แมน(เงือกตัวเมีย-ตัวผู้) อันเป็นคำผสมของแองโกล-ฝรั่งเศส และจากคอร์นวอลล์นี่เอง เงือกก็แพร่พันธุ์ไปจนถึงฝั่งตะวันตกของเกาะอังกฤษ ไปถึงรอบๆสกอตแลนด์ตอนเหนือสู่สแกนดิเนเวีย มีบางครั้งที่เราอาจเห็นเงือกในจุดต่างๆตลอดแนวฝั่งยุโรปด้วย อาจเป็นเพราะเงือกชอบอากาศเย็นและแนวฝั่งแอตแลนติกของอังกฤษกับไอร์แลนด์ 

     
ในต่างถิ่นมีตำนานเล่าถึงกำเนิดของเงือกต่างๆกัน นิทานพื้นบ้านของโรมันบอกว่า ในสงครามกรุงทรอย เศษไม้จากซากเรือรบที่ถูกเผาวอดกลายสภาพเป็นเลือดเนื้อและเกิดเป็นสิ่งมี ชีวิตคือ เงือก ชาวไอริชเล่าว่านางเงือกคือผู้หญิงนอกศาสนาที่ถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน บางท้องถิ่นมีเรื่องเล่าว่า ชาวเงือกคือ ลูกๆของฟาโรห์ที่จมน้ำในทะเลแดง
ตามตำนานของไทยเล่ากันว่าเงือกนั้นมีหน้าเล็กกลมเท่างบน้ำอ้อย(ประมาณหน้าชะนี)ผมยาววันดีคืนดีกลางคืนเดือนหงายจะขึ้นบกมาหวีผมด้วยหวีทอง บางทีก็ใช้กระจกทองส่องหน้าด้วย ถ้ารู้สึกว่ามีใครเข้ามาใกล้ตัว จะโจนลงน้ำดำหนีไป ทิ้งหวีและกระจกทองไว้ ถ้ามีผู้พบเห็นกระจกทองแต่เก็บไว้ไม่ทิ้งลงน้ำคืนเงือก เงือกจะมาเข้าฝันทวงของคืน ถ้าไม่ให้ก็จะถูกปลิดดวงวิญญาณไปหรืออาจถูกฉุดตัวจมน้ำไปขณะที่ลงไปอาบน้ำใน ที่แห่งนั้น ความเชื่อเรื่องเงือกนี้มิได้มีแต่เฉพาะในไทย แต่ยังมีกล่าวถึงในนิทานท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น เขมร ลาว ญี่ปุ่น และทางยุโรป
 
เงือกไทย

      
ในวรรณคดีไทยมีกล่าวถึงเงือกไว้หลายเรื่อง แต่เรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายคือเงือกในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ได้ กล่าวถึงลักษณะของเงือกว่ามีท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลาเป็นผู้พาพระอภัยมณีหนีจากนางผีเสื้อสมุทรมาที่เกาะแก้วพิสดาร เรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็กล่างถึงเงือกไว้ตอนหนึ่งว่า
"เสด็จนั่งยังท้ายเภตรา
ชมหมู่มัจฉาน้อยใหญ่
ว่ายคล่ำดำดั้นอยู่ไวไว
ที่ใน มหาชลธาร
เงือกงามหน้ากายคล้ายมนุษย์
เคล้าคู่พู่ผุดในชลฉาน"

      
ในเรื่องรามเกียรติ์ก็มีนางสุพรรณมัจฉาธิดาของทศกัณฐ์กับนางปลา มีรูปร่างท่อนบนเป็นหญิง แต่มีท่อนล่างเป็นปลา นางได้นำสัตว์น้ำบริวารไปขนย้ายหินที่กองทัพพระรามถมลงทะเลเพื่อทำถนนไปทิ้ง ตามคำสั่งของทศกัณฐ์ แต่ถูกหนุมานจับได้และตกเป็นภริยาของหนุมาน มีบุตรด้วยกันคือ มัจฉานุเป็นลิงเผือกแบบหนุมานแต่มีหางเป็นปลาแบบมารดา
 
เงือกเขมร 
      ในนิทานเขมรเล่าถึงเงือกไว้ว่า ตากับยายให้หลานสาวแต่งงานกับงูโดยเชื่อตามที่ฝันว่าถ้าหลานสาวมีสามีเป็นงู จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี เมื่อส่งตัวหลานสาวเข้าห้องหอให้งูแล้วได้ยินหลานสาวร้องให้ช่วยว่าถูกงูรัด ก็ตะโกนตอบไปว่า ผัวเขากอดรัดนิดหน่อยก็ต้องร้องด้วย หลานสาวก็ร้องอีกว่างูกินเข้ามาครึ่งตัวแล้ว แต่ตากับบายก็เฉยเสียเพราะคิดว่าหลานสาวร้องไปตามมารยาหญิง รุ่งเช้าตายายไม่เห็นหลานสาวออกมาจากห้องนานผิดสังเกตจึงเข้าไปดู พบแต่งูชดตัวพองอยู่ จึงรู้ว่างูกินหลานเสียแล้ว จึงช่วยกันฆ่างูผ่าเอาตัวหลานสาวออกมา หลานยังไม่ตายแต่มีกลิ่นงูติดกายอยู่ ชำระล้างอย่างไรก็ไม่หมดกลิ่น จึงไปล้างด้วยน้ำทะเละ แต่ปรากฏว่าหลานสาวกระโจนลงน้ำกลายเป็นร่างนางเงือกดำหายไป
 
เงือกญี่ปุ่น

      นิทานญี่ปุ่นมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับนางเงือกหลายเรื่อง มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีหญิงสาวคนหนึ่งได้ช่วยนางเงือกไว้ที่ชายหาดนางเงือกซาบซึ้งในบุญคุณจึงมอบ เนื้อเงือกให้หญิงสาวและบอกว่าเป็นของวิเศษใครได้กินจะไม่แก่เฒ่า เมื่อหญิงสาวกินเข้าไปก็เป็นไปตามที่นางเงือกบอกคือมีชีวิตอยู่อย่างไม่มี วันแก่แต่คนรอบข้างนางทุกคนต่างตายไปตามอายุขัย เหลือแต่นางเพียงคนเดียวจนทนไม่ได้จึงไปบวชเป็นชีมีชื่อว่า เบคุนิ
 
เงือกฝรั่ง

      ความคิดเรื่องเงือกหรือสัตว์ครึ่งคนครึ่งปลานี้ ฝรั่งก็มีเหมือนกัน แลมีทั้งเพศหญิงและชาย ที่เป็นเพศหญิงเรียกว่า Mermaid เพศชายเรียก Merman เป็นพวกเงือกน้ำเค็มอาศัยอยู่ในทะเลหรือตามเกาะแก่งต่างๆ Merหมายถึงทะเลส่วน Maid หมายถึงหญิงสาว ทางฝั่งทะเลตะวันตกของอังกฤษเรียกว่า Merry maidหมายถึงสาวรื่นเริงที่จินตนาการกันว่าชอบว่ายน้ำเล่นคลื่น ยามเดือนหงาย ก็จะขึ้นมานั่งบนก้อนหินตามเกาะแก่งต่างๆหวีผมและร้องเพลงด้วยเสียงอัน ไพเราะ
เงือกกรีก      ในตำนานเทพของกรีก ต้นตระกูลเงือกคือ ไตรตอน ซึ่งเป็นลูกของ โพเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล กับพรายน้ำสาวตนหนึ่ง ผู้คนมักจินตนาการว่าไตรตอนมีหางเป็นปลา ไว้หนวดเครายาว ทรงอำนาจในท้องทะเลเหมือนพ่อ ไตรตอนอาศัยอยู่ในปราสาททองคำที่ซ่อนตัวอยู่ก้นทะเล มีตรีศูล(ฉมวกสามง่าม)เป็นอาวุธ คอยเป่าแตรหอยสังข์เพื่อควบคุมทะเลให้สงบหรือบ้าคลั่ง ไตรตอนจึงมีสมญาว่า นักเป่าแตรแห่งท้องทะเล 


     แต่ตำนานที่เก่าแก่กว่าเล่าว่า ชาวเงือกยุคบุกเบิกคือ โอนเนส (Oannes) เทพแห่งทะเลของชาวบาบิโลน (อาณาจักรโบราณในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งมีพลังอำนาจต่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ โอนเนสเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ มีร่างกายเป็นมนุษย์และมีศีรษะเป็นปลา (บ้างก็ว่าสวมเสื้อคลุมปลา) โอนเนสจะปรากฏกายขึ้นมาจากทะเลในยามเช้าและกลับลงไปในทะเลตอนพลบค่ำทุกวัน ต่อมา เทพอียา(Ea) ซึ่งมีลักษณะครึ่งคนครึ่งปลาเช่นกันก็ได้ค่อยๆเข้ามามีบทบาทแทนที่โอนเนส ซึ่งถือกันว่า เทพเจ้าอียา เป็นบรรพบุรุษของเงือก ส่วนเทพเจ้า อาทาร์การ์ติส (Atargartis) เป็นตัวแทนของดวงจันทร์ มีลักษณะครึ่งคนครึ่งปลาเช่นเดียวกัน สาเหตุที่เทพเจ้าต่างๆของชาวบาบิโลนมีลักษณะดังกล่าวนี้ เพราะพวกเขาเชื่อว่า เมื่อพวกเขาเสร็จสิ้นภารกิจในแต่ละวัน ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็จะจมหายลงไปในทะเล ดังนั้นเทพเจ้าของเขาจึงควรมีรูปร่างลักษณะที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก
 
เรื่องราว เหล่านี้ล้วนเป็นปริศนาลี้ลับที่ไม่สามารถอธิบายได้ ความลึกลับนี้ สืบทอดต่อเนื่องกันมาโดยผ่านทางเรื่องเล่าเกี่ยวกับเงือก กระจกที่นางเงือกใช้ส่องนั้นเป็นตัวแทนของดวงจันทร์ ซึ่งการโคจรของดวงจันทร์นั้นมีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง และความเชื่อมโยงกันระหว่างดวงจันทร์และนางเงือกนี้ได้ช่วยให้ตำนานของนาง เงือกมีความแปลกประหลาดพิสดารมากยิ่งขึ้น


      เมื่อศาสนาคริสต์เริ่มก่อตั้งขึ้น ตำนานนางเงือกได้เปลี่ยนแง่มุมไปจากเดิม ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์นั้น นางเงือกสามารถที่จะมีชีวิตจิตใจ และวิญญาณได้ แต่จะต้องสัญญาว่าจะอาศัยอยู่บนบกตลอดไป ไม่คิดจะกลับคืนสู่ท้องทะเลอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงถือเป็นการสร้างความทุกข์ทรมานใจให้แก่ตัวเธอเป็นอย่างยิ่ง


      มีเรื่องราวอันน่าเศร้าใจเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับนางเงือก ซึ่งไปเยี่ยมเยียนนักบวชรูปหนึ่งอยู่เป็นประจำ ณ สถานที่อันเป็นที่เคารพสักการะในเกาะไอโอนา (Iona) เกาะเล็กๆแห่งหนึ่งห่างออกไปจากประเทศสกอตแลนด์ เธอได้ขอชีวิต จิตใจ และวิญญาณจากนักบวชรูปนั้น และนักบวชก็สวดมนต์ขอพรให้แก่เธอ แต่เธอจะต้องละทิ้งท้องทะเลของเธอตลอดไป แม้ว่าเธอจะปรารถนาชีวิตและจิตใจมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถละทิ้งทะเลไปได้ ตอนจบค่อนข้างเศร้าเล็กน้อย เธอได้ไปจากเกาะนั้น และน้ำตาของเธอได้กลายมาเป็นก้อนกรวดสีเขียวเทา หากมีใครพบก้อนกรวดดังกล่าวบนเกาะไอโอนา ก็จะเป็นที่ทราบกันดีว่า คือน้ำตาของนางเงือกนั่นเอง


ปรากฏการณ์เรือนกระจก

     ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?
          "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect)  คือ  ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
เนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย
โมเลกุลของ ไอน้ำ  คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)
ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้
อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้
ีต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชน
ถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน


รูปที่ 2.16 แสดงปรากฏการณ์เรือนกระจก

      เรือนกระจก

ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก  แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช  จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)
รูปที่ 2.17 เรือนกระจกสำหรับปลูกต้นไม้
        ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ  CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
              - การเผาไหม้เชื้อเพลิง
              - การผลิตซีเมนต์
              - การเผาไม้ทำลายป่า
    ก๊าซชนิดใดบ้างที่มีบทบาทในการทำให้เกิดปรากฏการณ์ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น

             -   ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากมูลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว  ควาย  การเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ

             -  ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย การสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิงจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่นอุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมพลาสติก
บางชนิดอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน

             - คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFCs) เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ประกอบด้วย คาร์บอน (C) คลอรีน (Cl) และฟลูออรีน (F) ซึ่งเป็นสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเป็นสาเหตุ
ุทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น รังสีเหนือม่วงชนิด B หรือ Ultraviolet B ส่งมายังผิวโลกมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ใน
อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟม กระป๋องสเปรย์ สารดับเพลิง
สารชะล้าง ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์

              ในปัจจุบันมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซนมากขึ้นและพบว่าสาเหตุหลักของปัญหา
ชั้นโอโซนถูกทำลายนั้นมาจากสารกลุ่ม CFCsเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสารเคมีในกลุ่มฮาโลคาร์บอน
ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ฟลูออรีน โบรมีน คาร์บอน และไฮโดรเจน จากการสำรวจโอโซนที่บริเวณ
ขั้วโลกใต้ ในปี พ.ศ. 2528 พบหลุมโอโซนที่ขั้วโลกใต้ (antartic ozone hole)  ซึ่งการถูกทำลายนี้จะเกี่ยวข้อง กับสารคลอรีนเสมอ  ทำให้ประเทศในกลุ่มซีกโลกตะวันตกและองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
มีมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันและมีข้อกำหนดต่างๆขึ้น 

รูปที่ 2.18 ก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก

   ปัญหาที่เกิดกับโอโซนจากสารทำลายชั้นโอโซน (CFC) มี 2 ประเด็น คือ

             1. สามารถฟื้นฟูโอโซนที่เสียไปได้หรือไม่

             2. หาแนวทางป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคตได้หรือไม่

     เนื่องจากโอโซนเกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ง่าย จึงไม่เสถียรพอที่จะสร้างขึ้นและส่งกลับเข้าสู่บรรยากาศ
การฟื้นฟูจึงทำได้เพียงการมีมาตรการและวิธีการที่สนับสนุนด้านการลดการใช้สารทำลายชั้นโอโซนที่เกิดจาก
สาร CFCs ซึ่งก็คือ  การมีข้อกำหนดในพิธีสารมอนทรีออล

  แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับชั้นโอโซน

          ปัญหาการถูกทำลายของชั้นโอโซนได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายโดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
ิ(United Nations Environment  Programme,  UNEP) ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องชั้นโอโซน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เช่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รับผิดชอบเรื่องแผนวิจัยด้าน
บรรยากาศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์กรเอกชน (NGO) ต่อมาจึงกลายมาเป็นปฏิบัติการระหว่าง
ประเทศที่จะควบคุมสารซีเอฟซี ( CFCs)

        ในปี พ.ศ. 2524 UNEP ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อวางโครงร่างว่าด้วยการป้องกันชั้นโอโซนแม้จะยัง
ไม่ได้มีข้อปฏิบัติแต่นับได้ว่าเป็นมาตรการในการเจรจาระหว่างประเทศฉบับแรกเกิดขึ้น และในเดือนมีนาคม
ค.ศ.1985(2528) UNEP ได้ร่วมกันเจรจาจัดทำอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยเรื่องการพิทักษ์ชั้นโอโซน เพื่อปกป้อง
สุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากผลกระทบของโอโซนลดลง

กำเนิดพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone layer, 1987)
         ต่อมาในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ.1987(2530) ได้มีการลงนามในข้อกำหนดที่เรียกว่า   พิธีสาร
มอนทรีออล  ณ  นครมอนทรีออล  ประเทศแคนาดา ซึ่งทั้ง 47 ประเทศได้ให้คำสัตยาบันด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน ซึ่งได้แก่ สาร CFCs และ Halon ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกว่าในปี 2532 ในปัจจุบันสมาชิกอนุสัญญาเวียนนามีทั้งหมด 176 ประเทศ พิธีสารมอนทรีออลมี 175 ประเทศ (ข้อมูลปี 2543) โดยจะให้มีความตระหนัก ถึงความสำคัญในการเลิกใช้ สาร CFCs หลังปี ค.ศ. 2000 สำหรับ ประเทศที่ผลิตสารกลุ่มนี้จะเลิกผลิต   โดยเปลี่ยนไป ใช้กับกลุ่มอื่นๆที่มีอันตรายน้อยกว่ามาทดแทน ได้แก่ สารประเภทที่อยู่
ในกลุ่มใกล้เคียงกัน เช่น HCFC และสาร HFC ซึ่งเป็นสารที่มีฟลูออรีนอย่างเดียวไม่มีคลอรีนดังนั้นปัญหาในการทำลายชั้นโอโซนก็จะลดลง

        สำหรับบทบาทในการให้ความร่วมมือในการกำหนดมาตรการควบคุมเกี่ยวกับสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนของ ประเทศไทยนี้ กรมโรงงาน อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ห้ามใช้สารในกลุ่ม CFF-11, CFC-12 และควบคุม การนำเข้าของสารที่ทำลายชั้นโอโซน ในปี 2541 ส่วน CFC-113, CFC-114,  CFC-115  เมทิลคลอโรฟอร์ม และสารฮาลอน เลิกใช้ในปี 2541  พร้อมกันนี้จัดการสัมมนาและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสารทดแทนใน อุตสาหกรรมต่างๆ  รวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันเลิกใช้สารกลุ่มดังกล่าว  พร้อมกันนี้ทางภาครัฐ ได้ลดภาษีการนำเข้าของสารทดแทน รวมทั้งให้การสนับสนุนสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ที่ต้องไม่ใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน

             Halon สารสังเคราะห์ที่ประกอบด้วยอะตอม C, Br, F, Cl มักใช้ทำสารดับเพลิง
การควบคุมภาวะเรือนกระจกทำไมจึงเน้นสาร CFCs มากกว่า ก๊าซ CO2 ทั้งๆ ที่CO2 ดูดความร้อนได้ดีกว่า ท ำให้โลกมีอุณหภูมิสูงกว่า ?

          : ถึงแม้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, CO2 ทำให้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น1.5 องศาเซลเซียล ซึ่งมากกว่า สาร CFCs ซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 0.8 องศาเซลเซียล  และมากกว่าก๊าซตัวอื่นๆ แต่ก๊าซอื่นเกิดจากธรรมชาติจะควบคุมได้ยากกว่า สาร CFCs เป็นสารสังเคราะห์ขึ้น ดังนั้นมนุษย์จึงสามารถควบคุมได้ดีกว่า ส่วนก๊าซ CO2จะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติมากกว่าไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อเพลิง เป็นอากาศที่เราหายใจ แม้ว่าจะเป็นตัวการหลักแต่กลไกเหล่านี้ยังต้องขึ้นตรงกับธรรมชาติมากกว่ามนุษย์
 
ผลกระทบหากไม่มีพิธีสารมอนทรีออล
       ถ้าไม่ข้อกำหนดของพิธีสารมอนทรีออล ประเทศต่างๆ ก็ยังคงใช้สาร CFCs ซึ่งจะทำลายชั้นโอโซน
เพิ่มขึ้นทำให้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เกิดมะเร็งผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหาร
ปัจจุบันได้มีการนำสารทดแทนมาใช้แทนสารกลุ่ม CFCs  โดยใช้สารในกลุ่มของไฮโดรฟลูออโร
คาร์บอน (HFC) ในการทำความเย็นในการทำโฟมซึ่งสารเหล่านี้จะไม่ทำลายชั้นโอโซนและไม่ก่อให้เกิดภาวะ
เรือนกระจกอีกด้วย


รูป 2.19 ภาพแสดงบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งชั้นโอโซนถูกทำลายไปมาก
อนุสัญญาอื่นๆ ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

      JICOP
      จากความสำเร็จและการยอมรับของนานาประเทศในอนุสัญญาเวียนนาเกี่ยวกับเรื่องการป้องกัน
ชั้นโอโซนและพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยเรื่อง การเลิกใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซน  ทำให้ประเทศกลุ่ม
อุตสาหกรรมอย่าง ญี่ปุ่น ตระหนักเห็นความสำคัญ จึงก่อตั้ง สมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการปกป้อง
ชั้นบรรยากาศโอโซน ของประเทศญี่ปุ่น ( Japan Industrail Conference for Ozone Layer Protection,
JICOP ) เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซนและควบคุมการผลิตและนำเข้าสาร CFCs สารเฮลอน

พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

     ได้มีการลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ของประเทศต่างๆ ในปี
พ.ศ.2535  เพื่อรักษาระดับก๊าซ C2ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแต่เนื่องจากไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย
จึงมีการจัดทำพิธีสารเกียวโต  ซึ่งถือได้ว่าเป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศโลกและเป็นกฎหมาย
ระหว่างประเทศฉบับเดียวที่ กำหนดอย่างชัดเจน ให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อย C2ให้ได้ภายในปี
พ.ศ.  2551-2555  และมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังจากที่มีประเทศร่วมลงนามไม่น้อยกว่า 55 ประเทศ
ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545  ดังนั้นมาตรการนี้จึงส่งผลดีซึ่งทำให้เกิด
การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งจะช่วย
ลดการผลิตพลังงานอัน จะก่อให้เกิดมลพิษ เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดการปลดปล่อย CO2

      ประเทศไทยได้มีบทบาทในสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศโลกในส่วนของประเทศกำลังพัฒนาในการลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์เลิกโครงการโรงไฟฟ้าที่มีการใช้เชื้อเพลิงจากเชื้อเพลิง
ที่มีธาตุคาร์บอนในปริมาณสูง เช่น ถ่านหิน และยังผลักดันให้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้เพื่อเป็นการลด
ก๊าซเรือนกระจก  ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศอย่างเห็นได้ชัดในแง่ที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาลเป็นซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์น้ำ
นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 1 เมตรทำให้บริเวณชายฝั่งของไทยมีพื้นที่น้อยลงซึ่งจะ
ส่งผลต่อเศรษฐกิจในด้านเกษตรกรรมและการประมง นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยเสริมการแพร่ระบาดของโรค
อหิวาตกโรคเนื่องจากอุณหภูมิสูงและความชื้นสูงขึ้นอีกด้วย


รูปที่ 2.20 ผลของข้อตกลงระหว่างประเทศ ต่อปริมาณโอโซนในโลก


ตำนานนางเงือก

ตำนานนางเงือก
เงือก หรือ นางเงือก (Mermaid) เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มี ส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา
นางเงือก (mermaid) เป็นสัตว์โลกอยู่ในทะเลในจินตนาการ มีลำตัวท่อนบนเป็นผู้หญิงสวย ท่อนล่างเป็นปลา ภาษาเยอรมันเรียกนางเงือกว่า meerfrau และเดนมาร์กคือ maremind
         โจนส์ระบุว่า นางเงือกคือเทพธิดาแห่งทะเล มักปรากฏตัวขึ้นเหนือผิวน้ำ มือหนึ่งถือหวีสางผม มือหนึ่งถือกระจก มีลักษณะคล้าย ไซเรน (siren - ปีศาจทะเล ครึ่งมนุษย์ผู้หญิง ครึ่งนก มีเสียงไพเราะมาก ล่อลวงคนไปสู่ความตาย ในนิทานปรัมปราของกรีก)ใน หลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย แต่เดิมนางเงือกอาจจะเป็นธิดาของพวกเคลต์ (ชาวไอริชโบราณ) นอกจากนี้ตำนานเกี่ยวกับนางเงือกมาจากเรื่องเล่าของพวกกะลาสีด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหายนะของมนุษย์  แต่โรสกล่าวว่า บางครั้งนางเงือกก็ให้คุณต่อมนุษย์ มนุษย์ ที่ช่วยเหลือนางเงือกมักได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรคซึ่งเยียวยาไม่ ได้แล้ว ได้ของกำนัล หรือนางเงือกช่วยเตือนให้ระวังพายุ  
       บางครั้งนางเงือกก็ได้รับสมญานามว่าพรหมจารีแห่งทะเล มีลักษณะสวยงาม กระจกของนางเงือกคือสิ่งที่แทนวงพระจันทร์ และผมที่สยายยาวคือสาหร่ายทะเล หรือรังสีบนผิวน้ำ  แต่บางครั้งก็กล่าวว่ากะลาสีเรือเดินทางไปในเรือนานๆเข้า ไม่ได้เห็นผู้หญิงเลยก็เกิดภาพหลอนขึ้นมา นั่นคือนางเงือกไร้ตัวตนอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเดินทางทางเรือเกิดจินตนาการเพราะว้าเหว่คิดถึงครอบครัว ตามตำนานเกี่ยวกับเงือกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพโอนเนสเทพเจ้าแห่งท้องน้ำเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและสติปัญญามีบุตรสาว และบุตรชาย ที่มีรูปร่างคล้ายปลา ให้ดูแลท้องน้ำในมหาสมุทรและปกครองทะเลทั้งหมด เรื่องหนึ่งที่น่าประหลาดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1608 มีคนพบคนครึ่งปลากลุ่มใหญ่ออกมาปิดปากถ้ำที่เซ็นไอเว่ส์แถบชายฝั่ง เบ็นโอเวอร์เนื่องจากเรือหลายลำได้รับคำสั่งให้ไปจับคนนอกศาสนาหรือเหล่าเพ แกนมาทำโทษและจัดการฆ่าทิ้งศพลงทะเล เหตุการณ์นี้ยังเป็นที่งุนงงมาถึงปัจจุบันว่าจริงหรือไม่ เงือกเป็นเผ่าพันธุ์ของอมนุษย์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอีกชนิด หนึ่ง ว่ากันว่าเงือกพวกนี้อาจมีถิ่นกำเนิดบนฝั่ง บริตานี และว่ายข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังคอร์วอลล์ จึงทำให้ผู้คนที่นั่นขนานนามว่า เมอร์เมด-เมอร์ แมน(เงือกตัวเมีย-ตัวผู้) อันเป็นคำผสมของแองโกล-ฝรั่งเศส และจากคอร์นวอลล์นี่เอง เงือกก็แพร่พันธุ์ไปจนถึงฝั่งตะวันตกของเกาะอังกฤษ ไปถึงรอบๆสกอตแลนด์ตอนเหนือสู่สแกนดิเนเวีย มีบางครั้งที่เราอาจเห็นเงือกในจุดต่างๆตลอดแนวฝั่งยุโรปด้วย อาจเป็นเพราะเงือกชอบอากาศเย็นและแนวฝั่งแอตแลนติกของอังกฤษกับไอร์แลนด์ 

                  ในต่างถิ่นมีตำนานเล่าถึงกำเนิดของเงือกต่างๆกัน นิทานพื้นบ้านของโรมันบอกว่า ในสงครามกรุงทรอย เศษไม้จากซากเรือรบที่ถูกเผาวอดกลายสภาพเป็นเลือดเนื้อและเกิดเป็นสิ่งมี ชีวิตคือ เงือก ชาวไอริชเล่าว่านางเงือกคือผู้หญิงนอกศาสนาที่ถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน บางท้องถิ่นมีเรื่องเล่าว่า ชาวเงือกคือ ลูกๆของฟาโรห์ที่จมน้ำในทะเลแดง


     

โลกและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

โลกและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
     1.  การหมุนและการเคลื่อนที่ของโลก          โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ  มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง  โลกและดวงจันทร์เป็นบริวารของดวงอาทิตย์  โลกจะหมุนรอบตัวเอง  และเคลื่อนที่หรือโคจรรอบดวงอาทิตย์
          1.  การหมุนรอบตัวเองของโลก  ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ  โลกจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ไปด้วย  ทำให้โลกซีกหนึ่งที่ได้รับแสงอาทิตย์เกิดเวลากลางวัน  ซึ่งกินเวลา 12 ชั่วโมง  ส่วนโลกอีกซีกหนึ่งที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์จะมืดเกิดเวลากลางคืน  ซึ่งกินเวลา 12 ชั่วโมง
               ดังนั้นการหมุนรอบตัวเองของโลก 1 รอบ  กินเวลา 24 ชั่วโมง  หรือ 1 วัน  ทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน
          2.  การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก  โลกจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ตลอดเวลาขณะเดียวกันโลกก็หมุนรอบตัวเอง  โดยหมุนจากตะวันออกไปตะวันตก  โดยที่แกนของโลกเอียงทำมุม 23 1/2  องศาตลอดเวลา  การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกทำให้บริเวณต่าง ๆ ได้รับแสงสว่างและความร้อนไม่เท่ากัน  ทำให้เกิดฤดูกาลสับกันไปในเวลา 1 ปี  หรือ 365 วัน  เมื่อรอบโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ
     2.  ตะวันอ้อมข้าว          ตะวันอ้อมข้าว  เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยลักษณะที่ดวงอาทิตย์จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว  ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
     3.  น้ำขึ้น - น้ำลง          ในแต่ละวันจะสังเกตเห็นว่า  ระดับน้ำทะเลมีปรากฏน้ำขึ้น - น้ำลง  ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและรอบดวงอาทิตย์  และเนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  แรงดึงดูดของดวงจันทร์จึงมีอิทธิพลต่อโลก  ทำให้เกิดปรากฏการร์น้ำขึ้น - น้ำลง  เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์  ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 14 - 15 ค่ำของทุกเดือน  บริเวณ ข และ ง  บนโลกจะโป่งออก  ทำให้บริเวณนี้น้ำทะเลขึ้น  ส่วนบริเวณ ก และ ค บนโลก  พื้นน้ำจะลดระดับลง
          ถ้าดวงจันทร์โคจรไปอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับดวงอาทิตย์  ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 7 - 8 ค่ำ  และวันแรม 7 - 8 ค่ำของทุกเดือน  จะทำให้บริเวณ ก และ ค บนโลกพื้นน้ำโป่งออก  ทำให้บริเวณที่น้ำขึ้น  ส่วนบริเวณ ข และ ง บนโลกเกิดน้ำลง  ในแต่ละวันเราจะเห็นน้ำทะเลขึ้นและลง 2 เวลา
     4.  ข้างขึ้น - ข้างแรม          เป็นปรากฏการณ์ที่คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละคืน  ซึ่งเกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์จะหันด้านเดียวเข้าหาดวงอาทิตย์  และสะท้อนแสงอาทิตย์  และสะท้อนแสงอาทิตย์มายังโลก  ทำให้คนบนโลกมองเห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์ในแต่ละเวลาไม่เหมือนกัน  และเกิดเป็นปรากฏการณ์ข้างขึ้นและข้างแรม
     5.  สุริยุปราคา - จันทรุปราคา          1.  สุริยุปราคา  เป็นปรากาฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากโลก  ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน  โดยดวงจันทร์ทอดมาบังโลก  คนบนโลกที่อยู่บริเวณเงาดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดไปชั่วขณะ
          2.  จันทรุปราคา  เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากโลก  ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน  โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์  เงาของโลกจะทอดไปบังดวงจันทร์  ทำให้คนบนโลกที่อยู่ด้านเดียวกับดวงจันทร์จะมองเห็นดวงจันทร์มืดไปชั่วขณะ
ควรรู้ - ควรจำ     สึนามิ (Tsunami)  เป็นธรณีพิบัติอย่างหนึ่ง  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในท้องทะเลหรือมหาสมุทร  ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าสู่ชายฝั่งอย่างรวดเร็ว  สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลต่ออาคารบ้านเรือน  ทรัพย์สิน  และชีวิตผู้คน
     สำหรับคลื่นสึนามิที่ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย  นอกจากจะทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากแล้ว  ยังส่งผลให้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป  เช่น  ชายหาดเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวปะการังได้รับความเสียหาย  เป็นต้น
      6.  ปรากฏการณ์โลกร้อน          ปรากฏการณ์โลกร้อนหรือภาวะโลกร้อน  คือ  ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกและผืนมหาสมุทรสูงขึ้น  โดยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ
          ปรากฏการณ์โลกร้อนถือเป็นผลพวงจากการมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นในบรรยากาศ  ซึ่งเป็นสาเหตุให้รังสีความร้อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามาถูกกักไว้ในโลก  โดยไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปได้  หรือที่เรียกว่า  ภาวะเรือนกระจำ  การเกิดขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากกระบวนการเผาไหม้ของการใช้เชื้อเพลิง  ฟอสซิล  อาทิ  น้ำมันปิโตรเลียม  ถ่านหิน  เป็นต้น  ทั้งจากกิจกรรมการขนส่งและการผลิตกระแสไฟฟ้า  แนวทางหนึ่งของการลดปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  คือ  ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล  โดยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น  อาทิ  พลังงานชีวมวล  พลังงานน้ำ  พลังลม  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานจากเซลล์  เชื้อเพลิง  พลังงานนิวเคลียร์  เป็นต้น  อย่างไรก็ตามการส่งเสริมใช้พลังงานหมุนเวียนจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับ  ซึ่งปัจจุบันการใช้พลังงานหมุนเวียนบางประเภทยังมีต้นทุนที่แพงกว่าพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล  (เช่น  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง)  มีกระแสต่อต้านจากมวลชนเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  (เช่น  พลังงานนิวเคลียร์  พลังงานน้ำจากการสร้างเขื่อน)  และปัญหาความเพียงพอของวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง  (เช่น  พลังงานชีวมวล  ซึ่งใช้วัตถุดิบร่วมกับภาคเกษตร)
          มหันตภัยร้ายที่กำลังคุกคามโลกอยู่ขณะนี้  คือ  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ มีปริมาณมหาศาลที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ  ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกหนาขึ้นเท่าไร  ก็จะเป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ  ก็จะส่งผลให้อุณหภูมิของบรรยากาศโลกสูงขึ้นถึงระดับอันตราย  ผืนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือและธารน้ำแข็งบนภูเขาทั้งหมดทั่วโลกค่อย ๆ ละลายลงเรื่อย ๆ และอาจจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
               1.  สาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน
                    สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์และทางธรรมชาติ  เช่น  การใช้พลังงานต่าง ๆ ของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ  และเกิดภัยธรรมชาติ  เช่น  ไฟไหม้ป่า  ภูเขาไฟระเบิด  เป็นต้น
               2.  ผลกระทบที่เกิดขึ้น
                    1)  ต่อสภาพภูมิอากาศ
                         -  ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น
                         -  ทำให้ความชื้นในอากาศเพิ่มมากขึ้นเนื่องด้วยการระเหยของน้ำที่มากขึ้น
                         -  ทำให้เกิดความไม่แน่นอนของอุณหภูมิ
                    2)  ต่อทะเลและมหาสมุทร
                         -  ทำให้ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งตามทั่วโลกละลาย
                         -  ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น
                         -  ทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น
                         -  ทำให้การเปลี่ยนสภาวะของน้ำเป็นกรด
                         -  ทำให้เกิดการหยุดไหลของกระแสน้ำอุ่น
               3.  การแก้ปัญหา
                    ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ  ไม่กินพลังงานไฟฟ้า  ใช้หลอดไฟที่ช่วยประหยัดพลังงานได้  ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า  ควบคุมการเกิดของประชากราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้ต้องใช้พลังงานมากขึ้น  แยกขยะ  นำของเก่ามาใช้ใหม่ได้  ใช้รถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม ป.6 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์